ความรู้

โรคปากและเท้าเปื่อยในโคนม

โรคปากและเท้าเปื่อยเกิดจากอะไร
- เป็นโรคที่เกิดในสัตว์กีบคู่ โค กระบือ แพะ แกะ สุกร
- เชื้อไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อยมี 7 ชนิด
- ในประเทศไทย พบ 3 ชนิด ได้แก่ ชนิดโอ เอ และเอเซียวัน
*** ชนิดเอเซียวัน พบระบาดครั้งสุดท้ายปี พ.ศ. 2540 ***

สัตว์ที่ติดเชื้อมีอาการอย่างไร

    สัตว์จะมีอาการซึม ไข้สูง น้ำลายไหล มีเม็ดตุ่มใส พุพอง เกิดขึ้นภายในปาก ลิ้น เหงือก เพดานปาก ข้างแก้ม ซอกกีบ
ต่อมาเม็ดตุ่มจะแตกเป็นแผล สัตว์แสดงอาการขาเจ็บ เดินกะเผลก น้ำลายไหลมากขึ้น มีแผลในปาก ลิ้น เท้า และหัวนม
     สัตว์ที่ติดเชื้อ แสดงอาการความรุนแรงแตกต่างกันขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานโรค ความแข็งแรงของตัวสัตว์ และปริมาณ
เชื้อโรค

โรคปากและเท้าเปื่อยติดต่อได้อย่างไร

- เกิดจากการกินอาหารหรือน้ำที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่
- การหายใจเอาเชื้อที่ปะปนอยู่ในอากาศเข้าไป
- สัตว์ที่เป็นโรคจะขับเชื้อไวรัส จากเม็ดตุ่มน้ำใส น้ำลาย มูลสัตว์

การป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย ทำได้อย่างไร
 
 ป้องกันโรคเข้าฟาร์มโดย......
        - งดการนำสัตว์เข้ามาเลี้ยงใหม่จากโคที่ไม่ทราบแหล่งที่มา หรือจากพื้นที่ที่มีโรคระบาด
        - ห้ามบุคคลภายนอกเข้าฟาร์ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่คอกเลี้ยงโคและโรงรีดนม
        - ห้ามยานพาหนะเข้าฟาร์ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถที่มีการเข้าฟาร์มหลายแห่ง เช่น รถขนขี้วัว รถรับซื้อโค รถขนฟาง
           
รถขนอาหาร เป็นต้น
        - เลือกซื้ออาหารจากแหน่งที่เชื่อถือได้ว่าไม่มีโรคปากและเท้าเปื่อยระบาด
        - ทำความสะอาดและทำลายเชื้อโรคที่โรงเรือน ถังนมและอุปกรณ์ต่างๆ

สร้างภูมิคุ้มกันโรคให้สัตว์

- ฉีดวัคซีนโรคปากและเท้าเปื่อยครั้งแรกตั้งแต่อายุ 4-6 เดือน
- ฉีดกระตุ้นซ้ำภายหลังจากฉีดครั้งแรก 3-4 สัปดาห์
- หลังจากนั้นฉีดวัคซีนตามรอบทุก 4 เดือน

ล้างและทำลายเชื้อโรคได้อย่างไร

- ล้างสิ่งสกปรก เช่น ดิน เศษอาหาร โดยการใช้น้ำสะอาดล้างพื้นผิว หรืออุปกรณ์ต่างๆ ก่อนที่จะใช้ยาฆ่าเชื้อในลำดับต่อไป
- ทำลายเชื้อโรคด้วยวิธีการ ดังนี้
     ♦ ต้องทำให้พื้นผิวหรืออุปกรณ์ที่จะทำลายเชื้อโรคเปียกชุ่มไปด้วยน้ำยา
     ♦ ต้องให้น้ำยาฆ่าเชื้อมีเวลาทำปฏิกิริยาอย่างน้อย 15-30 นาที ตามที่ระบุ โดยในการเลือกใช้ให้คำนึงถึงความเหมาะสม
        กับวัสดุ อุปกรณ์ เช่น
         
    ► โซเดียมไฮโปคลอไรท์ (น้ำยาซักผ้าขาว 1 ขวด ต่อน้ำ 2 ขวด ระยะเวลาสัมผัส 30 นาที)
             ► โซดาไฟ ใช้ตามคำแนะนำข้างขวด
             ►โซเดียมคาร์บอเนต 2%
             ► หรือยาฆ่าเชื้อโรคอื่นๆ เช่น กลูตาราลดีไฮด์ ใช้ตามคำแนะนำข้างขวด

โรคนี้ทำให้เกิดผลเสียหายอย่างไร

- โดยทั่วไปโรคปากและเท้าเปื่อยไม่ทำให้ตาย ยกเว้นในลูกสัตว์ขนาดเล็กที่อาจเสียชีวิตได้
- ในสัตว์ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน จะแสดงอาการรุนแรง
- ต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูสุขภาพนานมาก
- สัตว์บางตัวอาจไม่สามารถกลับมามีผลผลิตได้เหมือนเดิม

โรคปากและเท้าเปื่อยรักษาได้ไหม

- ไม่มีการรักษาโรคนี้ ยกเว้นการรักษาตามอาการ เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน

เหตุใดฉีดวัคซีนเป็นประจำตามรอบแล้วยังเกิดโรค

- ความคุ้มโรคของวัคซีนไม่สามารถคุ้มโรคได้ 100% เนื่องจากการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคปากและ
  เท้าเปื่อย ขึ้นกับปัจจัยหลายประการ เช่น สัตว์ต้องมีสุขภาพแข็งแรง ไม่เครียด และหากพื้นที่ใดมี
  เชื้อไวรัส อยู่ในพื้นที่เป็นปริมาณมาก เช่น มีการนำเชื้อไวรัสเข้าฟาร์ม เมื่อภูมิคุ้มกันที่สัตว์ไม่สูงพอ
  ทำให้มีโอกาสเกิดโรคได้
- แต่อาการและความเสียหายจะไม่รุนแรง เมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน

แจ้งข่าวสัตว์ป่วยได้ที่ไหน

- สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ
- สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด
- สำนักงานปศุสัตว์เขต
- คอลเซ็นเตอร์ ของสำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ เบอร์ 05-653-4412

***เมื่อเกิดโรคขึ้นกับสัตว์เลี้ยงของเกษตรกร และมีการแจ้งการเกิดโรค ทางรัฐจะดำเนินการควบคุมโรคไม่ให้แพร่ระบาด โดยเป็นบริการที่ไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ***



ที่มา : หนังสือคู่มือโรคปากและเท้าเปื่อยสำหรับเกษตรกรและผู้ค้าสัตว์ กรมปศุสัตว์โรคปากและเท้าเปื่อยเกิดจากอะไร



KPS Dairy Farm

ปัจจุบันสหกรณ์ฯ ได้ดำเนินกิจการมาเป็นเวลากว่า 35 ปีแล้ว สามารถผลิตน้ำนมดิบคุณภาพดีส่งไปยังโรงงานของบริษัท ดัชมิลล์ จำกัด และโรงงานผลิตนมพาสเจอร์ไรส์ของสหกรณ์ฯเพื่อแปรรูปผลิตภัณฑ์เป็นน้ำนมโคพาสเจอร์ไรส์ ตรา(นมโรงเรียน) จำหน่ายในเขตพื้นที่นครปฐมและจังหวัดใกล้เคียง นอกจากนี้ยังขยายกำลังการผลิต โดยการสร้างโรงงานผลิตนมยู.เอช.ที. ในปี 2560 เพื่อผลิตนมยู.เอช.ที.ไว้จำหน่าย และรองรับปริมาณน้ำนมดิบที่เพิ่มขึ้นของสมาชิกด้วย

ติดต่อเรา

   ที่อยู่ 29 หมู่ 6 ต.ดอนข่อย อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

  034-384-502, 034-384-503, 034-384-504

   034-384-502-3 ต่อ 19

  Email us at: [email protected]

ติดตามเรา